RSS

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

One Piece ฉันจะเป็นราชาโจรสลัดให้ได้เลย

One piece การ์ตูน ที่มีประวัติยาวนาน เรื่องราวว่าด้วยของโจรสลัดและการเดินทางรอบโลกตามหามหาสมบัติ (กะจะเขียนกันอีกยาว) ว่ากันว่า เป็นหนังสือการ์ตูนที่ทำยอดขายสูงสุด และตามมาด้วยการทำเป็นแอนนิเมชั่น แฟนคลับก็มีกันมากมายทั่วโลก และสิ่งที่แฟนคลับตัวจริงควรจะทำนั้นคือการติดตามอ่าน One Piece ให้ครบทุกตอนและ ซื้อหาของสะสมไว้ประดับบ้าน อันได้แก่ของจำพวก หนังสือการ์ตูน และโมเดล แต่พวกแฟนคลับงบน้อย (บ้านจน) หรือ ไม่อยากเสียเงินมาก เราก็มีทางเลือกอื่นมาเสนอให้ ด้วยการใช้ โมเดลกระดาษ (Papercaft) วิธีการโหลดก็คือ กดที่ภาพเพื่อ ทำการขยายขนาด แล้ว save ภาพไปพิมพ์ใส่กระดาษ ถ้ามีกระดาษดีดี ก็ใช้ เลือกกระดาษหนาหน่อยก็ดี (แนะนำกระดาษ ประมาณ 150-180 แกรมกำลังพอดี) แต่ถ้ายังงกอยู่ก็ใช้กระดาษอะไรก็ได้ที่หาได้ (แนะนำดั๊บเบิ้ลเอ) เสร็จแล้วก็ตัดเป็นชิ้นๆ และบรรจงใส่กาวปะติดปะต่อกันด้วยสมาธิส่วนตัว ผลงานจะสวยไม่สวยก็อยู่ที่ตรงนี้ละคับ
แค่เท่านี้เราก็จะได้โมเดลสะสมไว้ประดับบ้าน เพื่อแสดงความเป็นแฟนคลับ แบบราคาประหยัด แล้วว ฮ่าๆๆ

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

25 ครั้งก็แก้รูบิคได้ทุกรูปแบบแล้ว.. (Rubik's Cube)

ความเดิมต้อนที่แล้ว..... คณิตศาสตร์กับลูกบาศ์กแห่งรูบิค


มาต่อกันที่เรื่องของลูกบาศก์แห่งรูบิค นอกจากจำนวนหน้าที่สามารถแก้ได้มีอยู่กี่หน้า อีกปัญหาคือ จำนวนการบิดที่น้อยที่สุดที่รูบิคหน้าที่ยากที่สุดใช้ คือเท่าไร
หรือใช้การบิดอย่างมากกี่ครั้งจึงจะแก้รูบิคได้

บางคนอาจจะได้ยินว่าเป็น 29 หรือ 27 ฟังดูน้อยจนหน้าตกใจ (เรายังหมุนกันตั้งเกือบร้อย กว่าจะแก้ได้!!!!!! )
ที่หลายคนคิดมันต้องมากกว่านี้ก็เพราะ การใช้สูตร  
สูตร สูตร สูตร...  จริงๆ ครับ การใช้สูตรทำให้เรามองไม่เห็นหนทางที่แท้จริง ก็แค่ทำตามแบบเดิมๆ ไปเรื่อยๆ

ระยะหลังมานี้มีการพิสูจน์แล้วว่าแท้จริงขอบเขตบนของการหมุนรูบิคอยู่ที่ 26 ครั้ง ไม่ว่าจะหน้าไหนก็แก้ได้ภาพใต้การบิดไม่เกิน 26 ครั้ง

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปสูตรตรีโกณมิติ (Trigonometry) พร้อมเฉลยที่มา

ตั้งแต่เรียนวิชาคณิตศาสตร์มา ผมเองรู้สึกว่าวิชา ตรีโกณมิติ นี้มีสูตรอะไรมากที่สุดแล้ว เรียนกันตั้งแต่ ม.2 ม.3 ม.5 ม.6 เรียกได้ว่าตั้งแต่ ม.ต้น ยัน ม.ปลาย กันเลยทีเดียว และคิดว่าเรียนมหาลัยไปอยางไงก็คงหนีมันไม่พ้น  เอาตั้งแต่ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ก็มีกันตั้ง 6 ตัวเข้าไปแล้ว แถมเรื่องนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ หลายๆเรื่องเข้าด้วยกัน อันตั้งแต่ พีชคณิต เรขาคณิต บลาบลาบลา เวลาทำโจทย์ก็โอ้.... มันอะไรกันแน่นะนี้ แต่แล้วจะมีอะไรสำคัญไปกว่าประสบการณ์ คือ ขยันดูขยันทำบ่อยๆ เดี่ยวมันก็จะเก่งขึ้นเรื่อยเองคับ เอาหละคับวันนี้เราก็เลยสรุปสูตร ตรีโกณมิติมาให้คับ อันได้แก่อะไรมากมายและยาว พร้อมด้วยที่มา

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิชา โปเกมอนศึกษาภาคคำนวณ (Pokémon)


โปเกมอน Pokemon
เกมที่ประสบความสำเร็จอันดับที่สองรองจากมาริโอในประวัติศาสตร์เกม คงจะมีไม่กี่คนบนโลกนี้ที่จะไม่รู้จักโปเกมอน
ผู้เล่นต้องจับโปเกมอนเลี้ยง ฝึกฝน เพื่อนำมาต่อสู้กับ ยิมลีดเดอร์(Gym Leader) เพื่อรับเข็มกลัดเป็นรางวัล และเมื่อสะสมได้ครบทั้ง 8 เข็ม เราจะได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันโปเกมอนลีก และสู้กับสี่จตุรเทพ ก่อนจะได้สู้กับ โปเกมอนแชมเปียนประจำท้องที่ (Regional Champion) เมื่อชนะได้เราจะได้เป็นแชมเปียนคนใหม่
และเป็นผู้ที่ฝึกโปเกมอนที่แข็งแกร่งที่สุดเรียกว่า โปเกมอนมาสเตอร์ (Pokemon Master) เป็นอันว่าจบ
แต่เมื่อได้เล่นแล้ว คนเล่นก็ต้องเล่นให้จบอย่างแท้จริง นั้นคือการออกเดินทางไล่ล่าโปเกมอนในตำนานและ โปเกมอนหายากให้สมุดภาพ หรือ Pokedex เต็มถึงจะสาแก่ใจผู้เล่นที่แท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

The simpson ครอบครัวสุดฮ่า

     ณ เมือง Springfield ที่ยิ่งใหญ่ เมืองที่เพรียบพร้อมไปด้วยทุกสิ่งในเมืองตั้งแต่ ป่าเขาทะสาบยันโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ พร้อมสะท้อนปัญหาสังคมทุกอย่างใน อเมริกา
ครอบครัวประหลาดครอบครัวหนึ่งนามว่า Simpson
ครอบครัวนี้ประกอบด้วย
  -Homer พ่อแสนน่ารัก มีความเสียสละ ขยันทำงาน มีความรับผิดชอบสูง ฉลาดหลักแหลม (ทั้งหมดที่กล่าวมาตรงข้ามหมด) 
  -Marge คุณแม่ผู้ขยันทำงาน มีความรับผิดชอบ แต่เจ้ากี้เจ้าการ (ซึ้งไม่รู้ว่าไปได้กับ Homer ได้อย่างไง)
  -Bart ลูกชายตัวแสบของ Homer เป็นนักเรียน Grade 4th (ไม่ใช่เกรด 4 นะ) ก็ตามประสาเด็กวัยรุ่นทั่วไป อยู่โรงเรียน Springfield elementary พร้อมกับเพื่อนตัวแสบแทบทุกรูปแบบ
  -Lisa ลูกสาวคนโตของครอบครัว ฉลาด รักสิ่งแวดล้อม อายุ 8 ปี (ชนิดที่ว่าอยู่มาหลายสิบปีแล้วก็ยังไม่ได้เปลี่ยนอายุ)
และ Maggine ลูกสาวทารกของครอบครัว ถึงจะดูเป็นเด็กตัวเล็กช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ แต่เอาเข้าจริง ทำตัวน่าเป็นแบบอย่างมากกว่าพี่ชายซะอีก

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีสัมพัทธภาพ แบบโคตรพื้นฐาน (Special relativity)

วันนี้ผมอยากจะมาพูดถึงเรื่อง ทฤษฏีสัมพัทธภาพ แบบพิเศษ Special Theory of Relativity ของ ป๋าไอ (Albert Einstein) ให้สำหรับคนที่เคยได้ยินแต่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันหน้าตาเป็นไงจะได้รู้เรื่องพื้นๆ ของมันไว้ประดับสมองซะบ้างนะครับ แต่ในที่นี้จะของพูดแค่เรื่องพื้นฐานนะครับ ขอย้ำว่าพื้นฐานจริงๆนะ เดี๋ยวมีคนไปคิดว่ามันมีแค่นี้ซะอีก (ดูจากความยากแล้วนึกว่านี้ของเต็ม)








วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Check Digit ตัวเลขตรวจสอบ

ถ้าเราเอาเลขประจำตัวประชาชนของใครก็ได้ออกมา(ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะ) แล้วลองทำตามนี้
1.) เอาตัวเลขหลักแรกคูณ 13 ตัวเลขหลักที่สองคูณ 12 ตัวเลขหลักต่อมาคูณด้วย 11 และทำไปเรื่อยๆจนถึงหลักที่สิบสอง คูณ 2
2.) เอาเลขที่ได้มารวมกัน และเอาผลที่ได้ไปหารด้วย 11
3.) เศษที่ได้ออกมาไปลบออกจาก 11 แล้วสิ่งที่จะออกมาคือ เลขหลักสุดท้ายยยยยย
เช่น 1234567890121 ก็จะเป็น 13(1) + 12(2) + 11(3) + 10(4) + 9(5) + 8(6) + 7(7) + 6(8) + 5(9) + 4(0) + 3(1) + 2(2) = 352
352 หาร 11 เศษ 0 และกลายเป็น 11-0 = 11 เลขหลักสุดท้ายนั้นคือ 1


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม