RSS

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ให้ความรักยึดครองทุกสิ่ง ด้วยเวทมนต์แห่งคณิตศาสตร์ (love everywhere)

     เรื่องมันมีอยู่ว่า วันหนึ่ง(นานแล้วละ ) ผมกำลังเบื่อๆ ไปมีอะไรทำ เรียกได้ว่ากำลังเบื่อๆ เลยทีเดียว ก็เลยค้น Youtube เล่น ไปเจอเข้ากับ MV ใหม่ของ Black Eye Peas เพลง Just Can’t Get Enough. ซึ่งตอนนั้นกำลังมาใหม่เลยทีเดียว เป็น MV ให้อารมห์ เหงาๆ ภายใต้แสงสีในค่ำคืนของเมืองญี่ปุ่นที่ไม่รู้จะหรูไปไหน แล้วผมก็สะดุดเข้ากับ ภาพอันล่างนี้เข้าละครับ ทุกสิ่งกลายเป็นรูปหัวใจโดนความรักเข้าครอบงำ
     ผมรู้ครับว่าภาพนี้สร้างโดยการใช้เทคนิคที่รูรับแสงที่เรียกว่า “Bokeh” โดยคิดว่าน่าจะไม่ผิดนะ (The Black Eye Peas ชอบมาด้วยเทคนิคการสร้างแบบล้ำๆอยู่แล้ว ) คือเมื่อแสงที่มาแบบห่างจากจุดโฟกัสเรามากๆ มันก็จะ เบลอออกเป็นวงๆ แต่แล้วเขาก็ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Aperture Blades รูปหัวใจเข้าไป เพื่อตัดแสงที่เบลอออกมาเป็นรูปหัวใจซะ

     แล้วผมก็มีความคิดดีดีว่ามันคงจะดี ถ้าเราจะเอาอย่างบ้าง แต่คราวนี้ ใส่มันไปทั่วเลยเป็นไงละ ปัญหาก็คือเราไม่มี อุปกรณ์พวกนั้นนี้สิ จะทำอย่างไงดี

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปรับฐานะของประเทศไทย กับ Altlas Method

     ขณะที่ผมกำลังเล่น สบายๆ อยู่ดีๆ ทันใดนั้นหูผมก็ไปได้ยิน ข่าวแปลกเข้า เนื้อหาข่าวเขามีอยู่ว่า “ธนาคารโลกปรับฐานะประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นระดับสูง” เมื่อได้ยินข่าวก็ตกใจสิครับ คิดว่าหลายคนอาจจะได้ยินมาเหมือนกับผมเข้าเหมือนกัน แล้วเราก็กลับมาคิดๆดู ความหมายของมันให้ดีดี ประเทศไทย=ประเทศเรา, รายได้ระดับสูง=รวย ..... ฮะ!! ประเทศเรารวยแล้วหรอนี้ คิดเสร็จก็หันไปดูรอบข้าง....อ่า... ไม่มั้ง จากนั้นผมก็ลองเขาไปดูใน อินเตอร์เน็ตซะหน่อย และก็เป็นไปตามความคาดหมาย
      เนื้อหาข่าวจริงๆ แล้วก็คือ “ธนาคารโลกปรับฐานะไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง” เล่นเอาเราตกใจแทบแย่(นึกว่าตัวเองอยู่ในเขตห่างไกล ความเจริญมากขนาดนั้น) บางครั้งข่าวในทีวี มันก็ถูกจำกัดด้วยเรื่องของเวลานะครับ คนรายงานข่าวมันก็ต้องรายงานกันเร็วไปบ้างเป็นธรรมดา

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[Relativity:2] Galilei Transformation


     ต่อกันด้วยความพยายามอธิบายเรื่องยากๆ อย่างทฤษฏีสัมพัทธภาพให้เป็นเรื่องง่าย พอจะได้ใจหลายๆคน กันนะครับ

     คราวที่แล้วเราจบกันไปที่เรื่อง กรอบอ้างอิงที่ ในเมื่อเราต่างกันต่างมีกรอบที่ต่างกัน ความเร็วก็ต่างกัน คำถามที่ตามมาก็คือ พอจะมีหนทางอะไรมันในการทำให้เรารู้เหตุการณ์ในแบบของตัวเอง แล้วสามารถรู้เหตุการณ์ในแบบของคนอื่นด้วย คำตอบก็คือ แน่นอนมันต้องมีทางสิ แต่ทางไหนและทำอย่างไรมันถึงจะถูกต้องละ


     ย้อนกลับมาสู่เรื่องของคราวที่แล้วครับ สมมุติเรามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น มีรถ มีคนในรถ มีต้นไม้ มีลูกบอล และรถกำลังเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลจนกระทั้งทันลูกบอลในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มั่วข้อสอบขั้นเทพ Gat-Pat,Onet และ สทศ.อื่นๆ

     เรื่องมันต่อมาจากตอนที่แล้วครับ กับการมั่วข้อสอบ สทศ ไม่ได้โง่ครับ ข้อสอบแต่ละข้อ แต่ละชุดถูกคิดแล้วคิดอีก กว่าจะมาเป็น ข้อสอบให้เราได้ อย่างทุกวันนี้
และนี้คืออีกสิ่งหนึ่งที่ผมพบเข้า....
     หลายคนอาจจะมีทางออกทางใจเวลามั่วของสอบแบบนี้ครับ นั้นคือการตอบการพยายามตอบข้อที่ไม่รู้ ให้ตัวเลือกอยู่ติดกับคำตอบของข้อที่แล้ว เช่น ข้อที่แล้วตอบ 2 แต่ข้อนี้ไม่มั่นใจระหว่าง 1 กับ 4 แต่เลือกไปแล้ว 1 เพื่อให้คำตอบอยู่ชิดกับข้อที่แล้ว ผลออกมาเวลาฝนจะได้ดูเรียงกันงู ยาวๆสวยดี มันเป็นแค่ทางออกทางใจอะครับ ผมก็เคยเป็นตอนเด็กๆ จนลืมไปว่าเคยทำแบบนี้ จนเพื่อนคนหนึ่ง เอาเรื่องนี้มาบอกให้ฟัง และคิดว่าคงจะมีอีกหลายคนในประเทศทำวิธีนี้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[Relativity:1] พื้นฐาน, กรอบอ้างอิง, แกนเวลา

      วันนี้เรามาพยายามว่าเรื่องของพื้นฐานสัมพัทธภาพให้เป็นเรื่องง่ายกันดีกว่าครับ โดยตัวผมเองคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใครหลายคนรู้จักนะมัน.... และมักจะนึกถึงว่าหมายถึงเรื่องอะไร ที่ดูฉลาด ดูยิ่งใหญ่ เกี่ยวกับที่ ป๋าไอน์สไตน์ มนุษย์ผู้แสนฉลาดเว่อร์ผู้หนึ่งเคยกล่าวไว้ เกี่ยวกับระเบิดปรมาณู เกี่ยวกับการท่องกาลเวลาและฟิสิกส์ยุคใหม่ที่น้อยคนนักจะเข้าใจ แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าหมายถึงเรื่องอะไรกันแน่


      แน่นอนว่าการที่ผมจะเล่าเรื่องนี้ให้จบลงได้ภายในวันเดียวนั้นเป็นเรื่องยาก เราก็ต้องมีการซอยออกเป็นตอนๆกันซะหน่อย และคงจะเป็นแค่เรื่องพื้นฐานของพื้นฐานเท่านั้น(เรื่องเต็มก็ไปหาเพิ่มเติมกันเองนะครับ..)

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The social network รากฐานแห่ง Facebook


     หนังเรื่อง The Social Network หรือ ชื่อภาษาไทยที่ว่า เดอะโซเชียล เน็ตเวิร์ก (นี้แปลแล้วหรอ..) เป็นหนังที่ผมพึ่งจะมีมาโอกาสได้ดูจริงจัง หลังจากที่ประมาณปีก่อนนี้เพื่อนหลายคนชวนให้ดู เมื่อดูไปแล้วก็รู้สึกได้ทันทีถึงความเสียใจที่ ทำไมพึ่งมาได้ดูเอาตอนนี้.. T_T เป็นหนังเรื่องจริง ปนเรื่องแต่งของชีวิต Mark Zuckerberg ผู้ให้กำเนิด Facebook เว็บที่มีคนเข้าชมและเข้าใช้บริการมากที่สุดในโลกตอนนี้
     หนังทำให้เราได้รู้ว่าพี่มาร์คของเรา นอกจากจะเป็นคนอัจฉริยะที่มีความสามารถเขียนโปรแกรมเก่งแล้ว ยังมีความสามารถในการสร้างศัตรู มากมายในชั่วพริบตา (พี่มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์คนะครับ.....ไม่ใช่พี่มาร์คอื่น อิอิ)      

สิ่งหนึ่งที่ผมให้ความใส่ใจดู (ดูวนกลับไปมาเกือบสิบรอบได้)
นั้นคือ

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการมั่ว การเดาข้อ สอบ Gat-Pat, O-net และอื่นๆ

     เขาว่าโลกสมัยนี้ต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ การสอบเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของใครหลายคนขึ้นมาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Gat-Pat หรือ O-net ฝันร้ายของใครหลายๆ คน(ตอนเห็นคะแนนอะนะ) เนื่องจากมันทำตัวเป็นเหมือนเครื่องชี้ชะตาชีวิตเรา ชีวิต ม. ปลายเราเลยต้องพยายามทุมเทให้มัน ทั้งอ่านหนังสือ, ดูข้อสอบ, ติว, เรียน, บนบาน และ นอนหลับ (หึม...!) แต่พอไปจนถึงห้องสอบก็จะเริ่มมีความรู้สึกว่า มันไม่ค่อยเพียงพอเท่าไร ยังมีอีกหลายข้อที่เราไม่สามารถทำได้ สุดท้ายก็ต้องไปจบด้วยการใช้ดวง และความหน้าตาดีของแต่ละคน ในการเดา และมั่วข้อสอบกันไป
     เป็นที่รู้กันว่าข้อสอบข้อประเทศเรา สทศ ออกข้อสอบใหม่กันทุกปี (เพราะความพยายามล่าข้อสอบเก่าของใครบางคน) ข้อสอบจึงพยายามออกมาให้ดี ทันสมัย ครอบคลุมเนื้อหากว่าเดิมทุกปี (แต่ก็ยังโดนด่ากันทุกปี)  สิ่งหนึ่งที่คนออกข้อสอบพยายามก็คือ การแยกแยะคนที่รู้จริง กับรู้งูๆปลาๆออกจากกันให้ได้ ข้อสอบที่ออกมาจึงแปลก แหกแนว(พิมพ์ไม่ผิดนะ) กว่าข้อสอบที่เห็นตามโรงเรียนทั่วไปนัก (ถึงแม้ว่าจะมี 4 ตัวเลือกเหมือนกันก็เถอะ) ผมเลยเอากระดาษคำตอบจากปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ให้ดูชมกันถึงวิธีการเดา และการมั่ว อย่างเหนือเมฆ
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม