RSS

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เกมนับต่อ เกมคณิตศาสตร์ฝึกสมอง (Count Game)


 
     ผมรู้จักเกมคณิตศาสตร์ อยู่เกมหนึ่ง เป็นเกมที่พวกผมเรียกกันง่ายๆว่า เกมนับต่อ
  เป็นเกมเล่นง่าย แข่งขันกันระหว่างคนสองคน มานับเลขแข่งกันเป้าหมายคือใครนับ 20 ชนะ หรือ ใครนับ 21 เป็นคนแพ้ โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามนับติดต่อกันเกิน 3 ตัวเลข 
ฟังดูเป็นเกมคณิตศาสตร์ฝึกสมองง่ายๆ (เก็บไปให้เด็กอนุบาลเล่นปั๊ยย..)



มาดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมุตินาย A แข่ง กับนาย B โดยนาย B ให้นาย A เริ่มก่อน


นาย A: 1,2
นาย B: 3
นาย A: 4,5,6
นาย B: 7,8
นาย A: 9,10
นาย B: 11,12
นาย A: 13
นาย B: 14,15,16
นาย A: 17,18,19
นาย B: 20
นาย A: ………
อย่างนี้ถือว่านาย B ชนะไป

ใช่ครับมันดูเหมือนเป็นเกมง่ายๆ ไม่ได้มีสาระอะไรแรกก็นับๆไป พอใกล้ๆ จะถึงก็เริ่มมาเล็งๆ เอา 20 ให้ได้ แต่หลักความจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างง่าย

ผมโดน เพื่อนท้าแข่ง แล้วก็แพ้ กลับมานั้งนิ่งอยู่พักนึง เพื่อดูอีกคนแข่ง เพื่อพยายามจะเอาชนะเกมนี้ ให้ได้อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่สุดท้าย ก็แพ้ตลอด ทั้งๆที่เราเริ่มก่อน มันหมายความว่าอย่างไง (มันสื่อให้เห็นความโง่ววว์ ขึ้นมาทันที)
หลังจากที่ใช้เวลาค่อยๆคิดเราก็เริ่มมองเห็นความจริง มันเป็นทริกเล็กๆ เพราะว่าเกมนี้
20 คือเลขสำคัญ เป็นเป้าหมายที่ต้องการนับ
1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21

แน่นอน ว่าถ้าเลือกได้เราคงไม่หยุดนับที่ 19 ถ้านับ 20 ได้เพราะเท่ากับให้คู่แข่งชนะ แสดงให้เห็นว่า ใครนับเลขจบที่เลข 19 แพ้
1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21

เช่นเดียวกันกับเลข 18 และ 17  ที่ใครมาหยุดนับที่เลขนั้นแพ้ทันที ส่งผลให้ใครนับเลข 16 เป็นฝ่ายชนะ
1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21

แล้วเกมก็จะเปลี่ยนไปกลายเป็นใครนับ 16 เป็นฝ่ายชนะ มันก็จะมีเหตุการณ์ เช่นเดิมเกิดขึ้นอีก คือใครนับจบที่ 13,14,15 ถือว่าแพ้ทันที นับ 12 เป็นฝ่ายชนะ
1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21

และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21

    เราก็จะเห็นได้เกมนี้แทบจะรู้ผลตั้งแต่เริ่มเล่นเลยครับว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะ เพราะว่าการที่เราจะนับเลข 20 ได้เราจะต้องนับ จบที่ 16 ในตาที่แล้ว และการจะนับ 16 ได้จะต้องนับจบที่ 12 เช่นนี้ไปเรื่อย เราก็จะมีจุด Safe หรือจุดปลอดภัย อันได้แก่ {4, 8, 12, 16, 20} (สังเกตว่าหารสี่ลงตัวทุกตัว) ที่ว่าตราบใดที่เรายังนับเลขพวกนี้ได้ ชัยชนะก็จะยังอยู่ในมือเรา วะ ฮะ ฮ่ะ ฮ่า!!
     และแน่นอนว่าการได้เริ่มก่อนนั้น นับได้มากสุดแค่สามทำให้เราไม่สามารถ จบที่จุดเซฟ ได้ เกมนี้ใครโดนท้าให้เริ่มก่อน จุดจบของคุณก็คือการแพ้อย่างเดียวครับ (ตายหยั่งเขียด)

     วิธีการเล่นให้ชนะ
ขั้นแรกนั้นอย่างแน่นอน นั้นคือการให้อีกคนนับก่อน แล้วเราก็เป็นคนนับต่อไป ถ้าคู่แข่งเรานับมาหนึ่งเลขเราต้องนับสามเลข เพื่อเข้าคู่ ถ้าเขานับสองเลข เราก็นับสองเลขเช่นกัน และ ถ้าเรานับสามเลขเราก็ต้องนับเพียงเลขเดียว จำง่ายๆว่า มา 1 นับ 3 ถ้ามา 3 นับเพิ่ม 1 และถ้ามา 2 ก็นับเพิ่ม 2


     ถ้าเราเปลี่ยนเป็น แข่งกันนับเลข ให้ถึง m โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามนับเกินครั้งละ n ให้เราคิดแบบเดิม เราก็จะมีจุดเซฟเป็น
     หรือ พูดให้เป็นภาษาคนให้ง่ายขึ้นหน่อยคือ เลขอะไรก็ตามที่หารด้วย n+1 แล้วเหลือเศษเท่ากับเลขเป้าหมายของเราคือ m นั้นเอง

เช่น เปลี่ยนเกมเป็นแข่งกันนับถึงเลข 15 นับได้ครั้งละไม่เกิน 4 เราก็แค่นับให้จบที่เลขอะไรที่หาร 5 ลงตัว
นาย A: 1,2
นาย B: 3,4,5
นาย A: 6
นาย B: 7,8,9,10
นาย A: 11,12,13
นาย B: 14,15

   ว่าแล้วก็ลองเอาไปหลอกเด็กดูนะครับ ถ้าเราเอาเล่นกันคู่เล่นจับทริกได้เราก็ แอบๆ ปล่อยจุดเซฟ บ้างในตอนแรกๆ หรือ ให้เราได้ลองเริ่มก่อนบ้างเริ่มที่หลังบ้าง พอไกล้ๆ ถึงเป้าหมายเราค่อยจับจุดเซฟก็ยังไม่เสียหลาย
ผมเองก็เคยเอาไปลองเล่นกับ เด็กประถมซัก ป.4 , ป.5 , ป.6 เล่นกันในค่าย เป็นเกมค่าย ถึงกับงงกันเป็นแถบๆ แล้วพวกเขาก็จะมองเราเป็นเหมือนเทพ...(หุหุหุ) อะไรจะเก่งประมาณนั้น แต่ก็กระตุ้นให้น้องๆ เกิดการคิด ฝึกความเป็นคณิตศาสตร์ แล้วผมก็ลุ้นอยู่ห่างๆ ว่าให้ว่าน้องอย่างน้อยซักคนสามารถไขปริศนา มองเห็นถึงทริกง่ายๆ หลังเกมนี้ให้ได้ แต่แล้วก็ไม่มีใครมองเห็นได้เลยซักคน (หรือเราตั้งความหวังสูงไปเอง) หรือจะลองเอาไปท้าเพื่อนเล่นก็ไม่เสียหลาย กลายเป็นเกมฆ่าเวลาไว้เยาะเย้ยเพื่อนฝูงได้ในตัว ฮ่าๆๆๆๆ


* การภูมิใจกับสิ่งเล็กๆน้อยๆ คือกำไรของชีวิตนะครับ ว่ะ ฮะ ฮ่ะ ฮ่า!!!!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม