“โรงเรียนของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน....”
เพื่อนๆคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างในสมัยเด็กๆนะครับ ตอนอยู่อนุบาลหมีน้อย คุณครูก็ดูแลเอาใจใส่ ถนอมอย่างกับไข่ไนหิน ยุงไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม แลดูใจดี๊ ใจดี แต่พอขึ้น ม.ปลาย ปุ๊บ คุณครูที่พบเจอกลับกลายเป็นนางมารร้ายเดินดินซะงั้น ทั้งดุ ด่า ตี และที่สำคัญที่สุด ข้อสอบมหาโหด และการหักคะแนนมหาประลัย
แต่ถ้าเพื่อนๆลองมองในมุมกลับกันซักนิดนึง ชีวิตของคนเป็นครูก็คงเป็นชีวิตที่น่าสงสารอีกอาชีพหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยก็เป็นได้ นอกจากจะต้องสวมหน้ายักษ์หน้ามารมาสู้รบปรบมือกับเหล่าลิงทะโมนทั้งหลาย ยังมีอีกหลายเรื่องหลากปัญหามาให้ลำบากทั้งกายและใจอีกมากมายมหาศาล ไหนจะปัญหาเด็กไม่เข้าเรียน เด็กคุยในห้องเรียน เด็กหลับในห้องเรียน เด็กทำคะแนนไม่ดี สอนไม่รู้เรื่อง สรุปก็คือคะแนนห่วย! โอ๊ย! คิดแล้วเครียดแทนแม่พิมพ์ของเราจริงๆนะเนี่ย เอาล่ะ ก่อนที่บทความนี้จะดราม่าไปก่อน ในฐานะคนที่เคยเป็นนักเรียน (ตอนนี้เป็นนิสิตแล้ววววว) ก็เลยอยากจะนำเสนอแนวคิดคณิตศาสตร์เล็กๆน้อยๆไว้สำหรับช่วยเหลือคุณครูผู้เป็นแม่พิมพ์ของชาติให้จัดการกับปัญหาคะแนนต่ำเตี้ยเลี่ยดินของเด็กน้อยหอยสังข์จำพวกนี้ได้ผลชะงัดนักแล
มาเริ่มกันด้วยปัญหาแรก ที่เบสิกสุดๆ คงหนีไม่พ้น “คะแนนสอบสะท้านทรวงงง”
ปัญหานี้มักเป็นปัญหาแรกๆ ที่มักจะเกิดกับอาจารย์หลายๆท่าน นั้นคือเมื่อมีการเรียนมันก็ต้องมีการสอบ (เมื่อมีการสอบก็ต้องมีการลอก ฯลฯ อันนี้ไม่เกี่ยว นอกประเด็น) เพื่อจะวัดผลสัมฤทธิ์ต่างๆ นานา หรือเพื่อจะเก็บคะแนนเอาไว้สะสมเป็นเกรดนักเรียนตอนปิดภาคเรียน และถ้าคะแนนมันออกมาไม่เป็นที่น่าพออกพอใจเลยยย เช่น ติดศูนย์ ติด ร.วิชาลืม มีคนสอบตกเป็นสิบๆ หรือถ้าไม่ตก ก็คาบเส้น ต่ำเตี้ยเลี่ยดิน ไม่เอื้ออำนวยกับ GPA ที่สวยงามเลย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า ข้อสอบมันไม่ดี การสอนไม่ดี หรือแม้แต่นักเรียนเองที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ต้องมีการแก้ปัญหาเอาไว้กันเหนียว ไอ้การที่จะไปตามสอบซ่อมเพื่อทำข้อสอบอีกครั้ง ดูจะเป็นทางออกที่ดีแต่ มันก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกครั้งไป ถ้าเกิดไอ้นักเรียนตัวแสบมันไม่ยอมมาสอบ หรือบางทีอาจารย์อาจไม่มีเวลาว่างมากมาย ไม่สามารถจัดสอบซ่อมได้ ไหนจะภาระที่บ้านอีก เฮ้อ เราก็ต้องมาแก้ที่คะแนนกันละโน๊ะ
เมื่อมีคะแนนห่วยๆของนักเรียน จะปล่อยไปก็ไม่ได้ มันเป็นการทำร้ายเด็กทางอ้อม แต่ถ้าจะบวกเพิ่มเฉพาะคนที่คะแนนไม่ถึงมันก็ไม่เป็นธรรมกับคนที่คะแนนดีอยู่แล้ว ไอ้การที่จะบวกเพิ่มทุกคนมันก็จะเกิดปัญหาคะแนนเกินอีก แล้วทำไงดีให้ยุติธรรมดีละ ผมก็จะขอเสนอวิธีการใช้สิ่งนี้
โดยให้
X คือคะแนนของนักเรียนที่มีปัญหา
Xmax คือ คะแนนสูงสุดของนักเรียน
Xmin คือ คะแนนต่ำสุดของนักเรียน
Ymax คือ คะแนนสูงสุดที่จะให้นักเรียน (ถ้าไม่รู้จะใส่อะไรเราก็ใส่คะแนนเต็มของการสอบไปก็ได้)
Ymin คือ คะแนนต่ำสุดที่จะให้นักเรียน (ถ้าไม่รู้จะใส่อะไรก็ใส่คะแนนที่ให้แล้วเกือบตกพอดีก็ได้)
F(X) คือ คะแนนนักเรียนใหม่ที่จะออกมา
คะแนนที่ออกมาแบบนี้ ไม่ต้องห่วงว่าจะเกิน ไม่ต้องกลัวกว่าจะมีคนตก และไม่ต้องมีใครเสียเปรียบใคร ใครทำคะแนนได้มากมันก็ยังได้มากอยู่ ใครทำได้น้อยมันก็ยังได้ก็ยังต้องน้อยต่อไป ระดับระยะห่างของคะแนนมันก็ยังคงไว้ไม่เสียหายไป สมการนี้ยังสามารถใช้ในกรณี เช่น ออกข้อสอบมาเต็ม 20 คะแนน แต่พอมาดูช่องคะแนนเก็บมีให้ใส่ได้ 7 คะแนน อย่างงี้ก็ต้องมาแปลงกันอีกสักนิด เพื่อให้มันสมน้ำสมเนื้อกันนิดนุง
ปัญหาต่อไป “หักคะแนน แสนสะท้านน”
เมื่อมีการสั่งงานนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นโจทย์ปัญหา แบบฝึกหัดเล็ก งานเก็บคะแนน หรือแม้นแต่โครงงานใหญ่ๆ และกำหนดเด๊ดไลน์ส่งงาน แต่ถ้านักเรียนมันอมไม้อมมือทำมึนไม่ส่ง จนมันเลยกำหนดไปแล้วถึงจะหอบหน้ามึนๆมาส่งงานที่หมักไว้จนเน่า การที่จะไม่รับส่งงานเลยมันก็จะเป็นการทำร้ายเด็กนักเรียนตาดำๆหน้ามึนๆเหล่านี้มากจนเกินไป แล้วยังส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของตัวครูเอง จากแม่พระผู้ปราณีจะกลายเป็นนางมารร้ายกระหายเลือดในบัดดล แต่ถ้ารับและให้ผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมันก็จะทำให้เสียเด็ก มันก็เลยต้องมีการหักคะแนนงานเลยกำหนดส่งกันบ้างอะไรบ้าง แม้จะเลยกำหนดส่ง ไปแล้วแต่คนที่ส่งก่อนก็ควรจะได้รับอะไรมากกว่าไอ้หน้ามึนๆ ที่ส่งทีหลัง จริงไหมครับ
แต่ผมเป็นคนหนึ่งละที่’รมณ์เสียเอามากๆเวลาเจอคำพูดประมาณว่า “หลังจากกำหนดส่งไป หักคะแนนวันละหนึ่งคะแนนนะเธอว์” มันเป็นอะไรที่ทำให้รู้สึกไม่ค่อยดี ไม่ว่าจะทำจริงหรือพูดเล่นให้นักเรียนรีบทำงานมาส่ง แต่ผมก็ยังรู้สึกว่ามันไม่ค่อยดีอีกนั่นแหละ
ลองนึกดูนะครับว่าถ้างานนั้นคะแนนเต็ม 5 คะแนน เราทำเสร็จไปแล้วสวยงามเริ่ดหรูอลังการมาก จะไปส่ง เอาไปส่งแต่วันนั้นดันหาอาจารย์ไม่เจอ อาจารย์ไม่อยู่ วันต่อไป เราเกิดติดธุระหรือเกิดปวดหัวตัวร้อน ไปส่งไม่ได้ไปอีกหนึ่งวัน หรือติดเสาร์อาทิตย์ไปอีก รวมแล้ว ก็สี่วันเราจะเหลือคะแนนเต็ม 1 คะแนน เห็นแล้วอยากจะร้องไห้ให้น้ำตาเป็นสายเลือดเลยทีเดียว โถ อนาถแท้ชีวิตตรู
หรือถ้าเกิดนักเรียนขี้เกียจหน่อย ไม่ทำงานซะที สมมติว่ามัน เต็ม 10 คะแนน และผ่านไปแล้ว สิบกว่าวันแล้วพ่อเจ้าประคุณทูนหัวตัวขี้เกียจของครูเพิ่งจะเอามาส่ง แล้วเราจะไปหักคะแนนมันตรงไหนดีละ โอ๊ย โอ๊ย....
ตรงนี้ผมเลยเสนอให้ทำการหักคะแนนแบบยกกำลังครับ
แนวคิดก็มาจากการเรื่องการสลายตัวของธาตุรังสีไม่เสถียรครับ เพราะคะแนนมันก็ไม่เสถียรเหมือนรังสี ว่าด้วยอัตราการสลายตัวแปรผันกับปริมาณที่เหลืออยู่หรือ
แล้วก็ทำการแปลง
ทำให้ง่ายต่อการใช้งานเป็น
ตามสมการนี้เลยครับ
A คือ คะแนนที่ตามผลงานที่นักเรียนจะได้รับถ้าส่งตรงเวลา
T คือ เวลาวันที่ล่วงเลยไป
H คือ ครึ่งชีวิตของคะแนน (ระยะเวลาที่คะแนนสมควรจะเหลือครึ่งเดียว)
การหักคะแนนแบบนี้สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบกับนักเรียนที่ส่งงานก่อนหลังครับ ใครส่งก่อนก็ได้เปรียบกว่าคนส่งที่หลัง และเวลาผ่านไปหลายวันแค่ไหนเราก็ยังคงมีคะแนนเหลือให้หักกันนะครับ ไม่ใช่เต็มสิบผ่านไปแล้วสิบวัน คนทำมันก็ไม่มีอารมณ์จะส่งสิครับ ทีนี้เวลาเราบอกนักเรียนเราก็ไปบอกกับนักเรียนให้ว่าจะหักคะแนนแล้วก็บอกค่าครึ่งชีวิตของคะแนนกับนักเรียนซะ แรกๆนักเรียนอาจจะทำหน้างง แล้วพึมพำว่า กรูจะเข้าใจไหมเนี้ย แต่พอผ่านไปนานๆมันจะเป็นผลดีครับ อย่างน้อยพวกแก๊งค์ขี้เกียจจะได้มีคะแนนไว้ให้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลบ้าง อะไรบ้าง
แต่สำหรับไอ่พวกขี้เกียจตัวเป็นขนแบบกู่ไม่กลับจริง ตีด็อทฯจนลืมวันลืมคืน ลืมรายงาน หรือสอบซ่อม แก้ศูนย์ ทีนี้คุณครูใจดีจะสวมบทโหดหรือฆ่าหักคอพวกงี่เง่าเต่าตนุพวกนี้อย่างไรก็สุดแล้วแต่ใจจะไขว่ขว้าแล้วละครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น