RSS

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

Zoom Zoom หนังซูมกับสารพันปัญหาภาพ

โลกในปัจจุบันวันนี้ มันก้าวไปไกลครับ มีอะไรหลายๆอย่างมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ อยู่เรื่อย หนึ่งในนั้นก็คงจะเป็นเรื่อง การปล่อยหนังซูม หลายๆคนคงจะเคยได้ดู หรือเคยได้ยินเรื่องของพวกมันมาบ้างละมั้งครับ หนังซูมคือ การเอากล้องวิดีโอหรือเทคนิควิธีต่างๆ เข้าไปถ่ายเอาวิดีโอหนังจากโรงหนังมาไว้เป็นไฟล์วิดีโอครับ สำหรับหนังซูมที่ออกมาส่วนใหญ่แล้วต้องเรียกว่าแย่อะครับ (เข้าขั้นมากกกก)  ทั้งความละเอียดที่น้อยเหลือเกิน โทนสีที่เปลี่ยนไป หรือสัดส่วนภาพที่บางส่วนขาดหายไป สารพันปัญหาไม่อยากจะบรรยาย ดูแล้วเสียอรรถรสในการรับชมความบันเทิงที่แท้จริง(แอบเซ็งนิดๆ แต่ทำไงได้ล่ะ ไม่มีตังไปดูหนังโรงนี่หว่า) แต่สำหรับคนที่หลีกเลียงไม่ได้ มันสำคัญต่อชีวิตเหลือเกินถ้าไม่ได้ดูแล้วมันจะเป็นจะตายกันเลยทีเดียว เราก็พอจะมีทางช่วยกับปัญหานี้ และที่เราจะมาพูดกันวันนี้ก็คงจะเป็นปัญหาหนังซูมเกี่ยวกับเรื่องโทนสีครับ หนังซูมที่เห็นกันส่วนมาก สีที่เห็นจะผิดไปอย่างที่มันควรจะเป็น เช่น จากสีเหลืองอ่อน กลายเป็นสีขาวเลย หรือ จากน้ำตาลกลายเป็นแดง เราจะแก้ปัญหาเราต้องมาดูกันที่ต้นตอของปัญหาครับ คือเมื่อเราใช้กล้องไปถ่ายจากจอภาพที่เปิดฉายเราก็จะพบกับความไม่สามารถควบคุมได้ต่างๆนานา เช่น ปัญหาของแสงที่มากระทบกับจอ อาจจะมีแสงจากหลอดไฟประดับเข้าจอ หรือแสงสะท้อนจากจอตกไปยังของในห้องแล้วกลับมาที่จออีก

ดังนั้นมันก็เหมือนกับการที่เรามีวิดีโออยู่ตัวหนึ่งแล้วเพิ่มลดแสงสีต่างเข้าไป
ถ้าใครยังจำกันได้เราได้ทำการทดลองกับการเพิ่มสีของภาพไปเมื่อบทความที่แล้ว 
ถ้าเราสมมติให้วิดีโอถูกเพิ่มลดแสงตามสมการในบทความนั้นละกัน ถ้าเราต้องการจะหาวิดีโอเดิมเราก็แค่ใส่สมการที่เป็นฟังก์ชันส่วนกลับของฟังก์ชันเดิมซะเราก็จะได้คำตอบ


และถ้าแสงที่เพิ่มขึ้นมาเป็นไปตามสมการ



อินเวิร์สหรือส่วนกลับของมันก็คือฟังก์ชันเดิมนั้นและครับ

สรุปแล้วเราก็แค่เราสมการเดิมมาใช้ แต่หลายคนอาจจะสงสัยอย่างนี้มันไม่ได้ต่างอะไรกับการที่เราจะเอาหลอดไฟมาส่องเวลาดูหนังซูมเลยนี่น่ามันจะแก้ปัญหาได้จริงหรือ
เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ปกติแล้วพื้นฐานของภาพแบบพิกเซลนี้จะเป็นแบบแม่สีของแสงทั้งสามสี ประกอบกันเป็นสีต่างๆอีกมากมาย โดยปกติแล้วถ้าเราโดนแสงสีหนึ่งกระทบเราก็ต้องมาลองแยกองค์กระกอบของแสงนั้นดูว่ามีแสงอะไรประกอบอยู่บ้างแล้วเราก็ค่อยมารวมกับแสงจากแหล่งอื่น  ในทางกลับกันถ้าเรามีภาพธรรมดาถ้าเราทำการแปลงภาพโดยเพิ่มแสงทุกช่องของแม่สีในขนาดที่เท่ากันเราก็จะพบว่ามันเหมือนถูกฉายด้วยแสงสีขาว แต่ถ้าเราปรับค่าคงที่สำหรับแม่สีต่างๆผิดไปจากกันเราก็จะได้ภาพที่ถูกฉายด้วยสีต่างๆนานา

ปัญหาต่อไปคือเราจะรู้ได้ว่าจะปรับพารามิเตอร์ใดเท่าไร คำตอบคือ ไม่รู้เหมือนกันครับ....!!!!
แต่อย่างน้อยเราก็สามารถทดลองได้ตามใจเราเอาเท่าที่เราจะพอใจละกัน
ว่าแล้วเราก็มาทดลองกันครับ

ได้เอ็ดกับเบลล่ามาเป็นพรีเซนเตอร์ ภูมิใจค่อดๆ :)

ผลที่ได้จากการลองแปลงแล้วหาค่าพารามิเตอร์ที่คิดว่าน่าจะเหมาะที่สุดในแต่ละแม่สีแล้วก็ปล่อยวิดีโอเล่นไปตามนั้นภาพที่ออกก็ดูดีน่าประทับใจแต่ก็มีบางส่วนอยู่ที่มีปัญหาเช่นบริเวณแก้ม สีเนื้อนั้นถูกแสงกระทำจนกระทั่งกลายเป็นสีขาวสนิทไปเราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าตรงไหนคือส่วนที่เคยเป็นสีขาวจริงๆหรือเพิ่งกลายมาเป็นสีขาวตอนถูกรบกวน...

อย่างไรก็ตามเมื่อแก้ปัญหาพวกนี้ได้แล้ว ก็ยังคงพบกับปัญหาอื่นๆอยู่ดี เช่น เสียงไม่ชัด คนเดินผ่านหน้าจอไปมาน่ารำคาญ โอ๊ย สุดจะบรรยาย เอาเป็นว่า ไหนๆเขาก็อุตส่าห์ทุ่มทุนสร้างหนังดีๆมาให้เราได้เสพกันแล้ว ก็อย่าลืมอุดหนุนของจริงบ้าง อะไรบ้างนะครับ เป็นกำลังใจให้คนที่เขาทุ่มเทแรงกายแรงใจสร้างภาพยนตร์ดีๆออกมา ด้วยนะครับ แพงนิดแพงหน่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าแลกกับอรรถรสแบบเต็มๆของภาพยนตร์ละก็ ถือว่าคุ้มนะเธอว์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม