RSS

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คณิตศาสตร์กับการผูกเชือกร้องเท้าแนวๆ




เราผูกเชือกรองเท้ากันมาหลายศตวรรษแล้ว เราผูกมันในแบบเดิมๆ แต่จะมีซักกี่คนที่จะคิดนอกออกไป และถามตัวเองว่าวิธีไหนละที่เราจะผูกเชือกรองเท้าได้ดีที่สุด?? ความจริงแล้วปัญหานี้ถูกเริ่มขึ้นมาหลายสิบปีที่แล้ว วันนี้เราจึงจะขอมาเล่าให้กันฟัง
จากผลงานเขียนของ Burkard Polster ในมหาวิทยาลัย Monash University ประเทศ Australia สิ่งที่เขาได้ให้ความสนใจถึงคือ ปัญหาว่า ผูกเชือกรองเท้าแบบไหนประหยัดทรัพยากรเชือก และแบบไหนให้ความเข็งแรงมากที่สุด โดยให้เงื่อนไข ในแต่ละกรณีและลงมือพิจารณา ผมก็ได้ลองอ่านและศึกษาต่อมา ตอนนี้ก็มาเล่าสู่กันฟัง


เริ่มแรกเราก็ต้องมาดูขอบเขตที่เราศึกษากันก่อนนะครับ
อันดับแรกคือรองเท้า
แน่นอนครับรองเท้าที่เราสนใจต้องเป็นรองเท้าเชือกหรือ รองเท้าแบบมีรูร้อยเชือกและ
เราจะให้มีรองเท้ามีรูร้อยเชือกทั้งหมด 2(n+1) รูแบ่งเป็นสองแถว คือ A และ B มีระยะห่างกัน w  รูร้อยเชือกเป็น 
 แต่ละรูในแถวเดียวกันก็ห่างกัน  v

ต่อไปก็คือการร้อยเชือก
ความจริงแล้วการจะผูกเชือกรองเท้าไม่ได้มีกฎอะไรตายตัวนักนะคับ แต่ถ้าเราเอาเชือกรอยซักหูสองหูแล้วผูกปม มันก็ไม่ค่อยเป็นการพวกเชือกรองเท้าที่ดีเท่าไรนักนะครับ เราก็ต้องมีกติกากันนิดนึง ว่า 
      1. การผูกเชือกรองเท้านั้นจะต้องผูกให้ทุกรูได้มีเชือกผ่าน 
      2. แต่ละรูมีเชือกผ่านได้แค่ครั้งเดียว 
     3. จุดจบ กับจุดเริ่มต้องมาอยู่ด้วยกัน 
      4. เชือกที่ผ่านรู I ใดๆ จะต้องไม่ไปต่อที่รูในแถวเดียวกันทั้งสองฝั่ง(เข้ารู I และออกรู I)
และถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้จำนวนการผูกเชือกรองเท้าจากคอมบินาทอริกเบื้องต้นว่า
 
เมื่อ m = n/2 ตอน n เป็น คู่ m=(n+1)/2 เมื่อ n เป็นคี่
และเราจะขอเรียกการผูก ที่มีการสลับหลักทุกครั้งว่าเป็นการผูกแบบแน่นหนา (dense lacing) และคำนวณจำนวนการผูกได้เป็น
เช่นถ้ามี รูอยู่ 14 รู จำนวนก็จะเป็น 382 838 400  วิธี

  ต่อไปคือผลงานของ John H.Halton นะครับ ชื่อเรื่องว่า The Shoelace Problem เขาได้ยกตัวอย่างรูปแบบการผูกเชือกรองเท้าไว้สามแบบแล้วเรามาลองดูตามไปนะครับ

American,Zig-zag,lacing
 
ได้ระยะเชือกเป็น
European,Straight,lacing
คำนวนระยะเชือก
Shoe-shop, quick, lacing
ได้ระยะทางเชือก

ความจริงเราอยากจะรู้ว่าอะไรดีกว่าอะไรเราก็ลองๆ ทำดูทุกแบบซะเดี๋ยวก็รู้
แต่คำถามที่ตามมาคือ ถ้าไม่ใช่รองเท้าคู่นี้มันจะยังดีอยู่หรือป่าว


จากการทดลองแทนค่าเล่นๆ เราจะพบว่า

LAM< LEU< LSS

ต่อไปจะทำการพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำนั้นดีที่สุด จริงหรือไม่
ทีละกรณี
ถ้า n=0 หรือ n=1 จะผูกอย่างไงมันก็คงไม่ต่างกัน เพราะมันไม่มีรูพอจะร้อยอะไร


ถ้า n=2 ในกรณีนี้เราจะได้
ที่เหลือก็แค่พิสูจน์เทียบกรณี LAM< LEU ว่าแล้วก็เริ่มลงมือพิสูจน์ 
โดยใช้ความรู้เรื่องอสมการเบื่องต้นในการพิสูจน์ และก็เงื่อนไขเล็กน้อยว่า w>0 , v>0


 LEU> LAM
จบไปเรื่องกรณี n=2
บางคนอาจจะสงสัยว่า อสมการยกกำลังสองอยู่ดีดี ทำไมเราถึงถอดรากที่สองทั้งสองข้างได้ละ???
      - ต้องมาทำความเข้าใจกันหน่อยนะครับว่าโดยปรกติแล้ว อสมการเวลามันมีอะไรยกกำลังสองทั้งสองด้าน
      มันจะต้องเกิดเป็นสองกรณีเช่น  ถ้า a,b,c>0  และ (a-b)^2 >c^2 แล้วจะได้ว่า a-b>c หรือ b-a>c
อ้าาวว เป็นก็ถ้ามันต้องแยกเป็นสองกรณี แล้วทำไมข้างบนถึงยังทำแค่กรณีเดียวอยู่อีกละ
     - ก็เนื่องด้วยว่า เงื่อนไขที่เรากำหนดให้มาทำให้อีกกรณีนั้นเป็นไปไม่ได้ทันที (ไม่เชื่อไปลองทำกันเองดูก็ได้)
      ทำให้เราเหลือกรณีเป็นไปได้แค่ทางเดียว อย่างไงละ



ต่อไปกรณี n>2 
จากตรงนี้เราจะได้ว่า (n-2)>0 , (n-1)>0
และเริ่มด้วยบันทัดที่ห้า ของการพิสูจน์ด้านบนแล้วลงมือพิสูจน์

 LEU< LSS


สำเร็จเกินครึ่งทางแล้วครับเรา
 LAM< LEU

เป็นอันว่าจบครับ เราสรุปเลยละกัน American,Zig-zag,lacing สั้นที่สุดไม่ว่าจะกรณีไหนๆครับ








เสร็จจากเรื่องการพิสูจน์แล้วก็ตามมาด้วยวิธีการผูกเชือกร้องเท้าแบบแนวๆ
จะเอาไปผูกเชือกรองเท้าผ้าใบเดินสบาย หรือจะลองเสี่ยงตายผู้เชือกรองเท้านักเรียนดูก็ได้ เก๋ดี
 
 A. LADDER
เอาบันใดมาใส่บนรองเท้า

 B. ZIPPER
สร้างข้าวหลามตัด บนรองเท้า

 C.DOUBLE BLACK
เหมือนจะธรรมดา ถ้ามองดีดีแล้วมันแตกต่าง

 D.LOOP BACK
ระยะแรกอาจจะพบปัญหาเล็กน้อย

E.BUSHWALK
ก็ดูแล้วไม่วุ่นวายดี

 F.SAWTOOTH
ฟันใบเลือย ฮ่าๆๆๆ

H.DISPLAY
ก็ดูเหมือนธรรมดา ว่าแต่จะพูกเชือกตรงไหนหว่า

I. HASH
ถ้ารูร้อยเชือกมันเยอะนักก็เว้นมันซะบ้าง

 J.TWISTIE
ก่อนจะทำแบบนี้ก็เตรียมตัวเผชิญหน้ากับความงงได้เลย

K.HIDDEN KNOT
สวยซ่อนปม ค่ะ

L.RIDING BOW
คล้ายๆ กับที่พิสูจน์ให้ด้านบน

 M.CHECKERBORD
สำหรับพวกมีเวลาว่างหน่อย ก็ลองทำดูครับ
แต่อย่าลืมว่าต้องหาเชือกรองเท้ายาาาาาาว ยาวชนิดเอามาผูกคอตายได้เลยทีเดียว

N.LATTICE
สานกันอีกแนวนึง แต่ประหยัดเชือกกว่า




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม