RSS

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีสัมพัทธภาพ แบบโคตรพื้นฐาน (Special relativity)

วันนี้ผมอยากจะมาพูดถึงเรื่อง ทฤษฏีสัมพัทธภาพ แบบพิเศษ Special Theory of Relativity ของ ป๋าไอ (Albert Einstein) ให้สำหรับคนที่เคยได้ยินแต่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันหน้าตาเป็นไงจะได้รู้เรื่องพื้นๆ ของมันไว้ประดับสมองซะบ้างนะครับ แต่ในที่นี้จะของพูดแค่เรื่องพื้นฐานนะครับ ขอย้ำว่าพื้นฐานจริงๆนะ เดี๋ยวมีคนไปคิดว่ามันมีแค่นี้ซะอีก (ดูจากความยากแล้วนึกว่านี้ของเต็ม)








เริ่มแรกสมมติฐานของทฤษฏี
   1.)  กฎของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ต้องเหมือนกันหมดในทุกระบบ (เพราะตอนนั้นเกิดความขัดแย้งกันของกฎฟิสิกส์ยุคเก่ายุคใหม่)
   2.)  ความเร็วของแสงในฟรีสเปซเป็นค่าคงที่ค่าเดียวกันสำหรับผู้สังเกตทุกคน (คือไม่ว่าจะให้ใครมาดูก็ต้องเห็นว่าแสงนั้นเร็วเท่ากันหมด)

และก็ลองหาความสัมพันธ์กันระหว่างผู้สังเกตแต่ละคน ที่กำลังมองวัตถุ A
ให้
   x คือตำแหน่ง ของวัตถุ A จากการมองของ นาย ก
   t  คือ เวลาตอนนั้นของ นาย ก
   v  คือ ความเร็วของวัตถุ A ที่นาย ก วัดได้
   x’ คือ ตำแหน่ง ของวัตถุ A จากการมองของ นาย ข
   t’  คือ เวลาตอนนั้นของนาย ข
   v’ คือ ความเร็วของวัตถุ A ที่นาย ข วัดได้
   u  คือ ความเร็วที่นาย ก กำลังเห็นนาย ข เคลื่อนที่อยู่
และจากความรู้ฟิสิกส์มัธยมเราจะความสัมพันธ์เป็น (ก็มันเป็นเรื่องที่อยู่ในสามัญสำนึกของเราอยู่แล้วนินา)
x=x'+ut'      t=t'      v=v'+u
เช่น นาย ก กำลังมองนาย ข ซึ้งกำลังอยู่บนรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 180 km/h (u = 180 km/h)
จากนั้นนาย ข ขว้างลูกบอล A ด้วยความเร็ว 30 km/h (v’ = 30 km/h) ทำให้ ก เห็นบอลนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 210 km/h (v = 210 km/h = v’ + u)
แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ถ้า A ไม่ใช่ลูกบอลแต่ เป็นแสง สมมุติว่านาย ข ปล่อยแสงออกมาจากไม้กายสิทธ์ และวัดความเร็วแสงได้เป็น C นาย ก ก็ทำการวัดเช่นกัน ความเร็ว C ซึ่งตามหลักการแล้วควรจะเป็น C 180 ทำให้สิ่งที่เราเรียนกันมาตอน มัธยมต้องผิดไปอย่างไร้ค่า (ให้แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคือ C มีค่าประมาณ 299,792,458 m/s หรือ  1,079,252,848.8 km/h)

หวังว่าคงเข้าใจ (ถ้าอ่านมาถึงตรงที่แล้วไม่เข้าใจผมขอแนะนำให้ข้ามส่วนสีแดงนี้ไป)

จากความผิดพลาดข้างต้นเราก็ลองเปลี่ยนใหม่โดยสมมติความสัมพันธ์ให้เป็น
ให้มันมีค่าคงที่มากมายอยู่ให้ครบทุกที่ ให้มั่วไปหมด (ที่เราไม่ลองให้เป็นสมการยกกำลังเพราะไม่ต้องการให้ผู้สังเกตผู้หนึ่งวัดค่าผู้สังเกตอีกคนได้หลายค่า)
ว่าแล้วเราก็ต้องลองทำย้อนกลับหาของอีกคนได้เป็น
และเราพบว่าความสัมพันธ์จะต้องกลับกันได้ (ถ้า นาย ก และนาย ข ใช้วิชาสลับตัวกัน สูตรนี้ต้องใช้ได้เหมือนเดิม)นั้นคือ
จะทำให้เราได้

และทำการหาความเร็วของวัตถุด้วยความรู้พื้นฐาน ม. ปลาย

ทีนี้เราก็จะได้สมการความสัมพันธ์ของความเร็ว
ติดแค่ค่าคงที่ตัวหนึ่งเราก็ของกำจัดด้วยสมมติฐานข้อที่สอง
ถ้าให้ วัตถุ A ที่วัดอยู่เป็นแสงเราจะวัดความเร็วแสงได้เท่ากันทุกคนดังนั้น

ได้ออกมาซะทีเหนื่อยไหม (พักหายใจกันซะหน่อยก่อน.............)
จากสูตร เราลองทำการคำนวณกัน นาย ก วัดความเร็ววัตถุโฟตอนได้เป็นความเร็วแสง v=c ความเร็วที่นาย ข จะวัดได้คือ v’=( v-c)/(1-u/c)=c   ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้างต้น
แต่ถ้าไม่ใช้แสงแต่เป็นลูกบอลที่ความเร็ว 30 km/h ที่นาย ข ขว้าง นาย ก ก็จะวัดได้ ความเร็วเป็น v = (30 + 180)/(1+30*180/c^2) =209.9999999999990264312010….. จังหวะนี้ใครก็บอกว่า เป็น 210 ทั้งนั้น เพราะแม้แต่เครื่องอิเล็กทรอนิคส์ทันสมัยยังระบุความคลาดเคลื่อนนี้ไม่ได้เลย จึงทำให้เราให้การคำนวณแบบเก่าเพื่ออธิบายการเคลื่อนที่แบบความเร็วน้อยๆแบบนี้ได้
ทั้งนี้อาจจะมีคนเข้าใจผิดว่ามันคือ ทฤษฏีสัมพัทภาพ หรือ ทฤษฏีสัมพันธภาพ หรือ อะไรก็แล้วแต่ครับความจริงแล้วมันคือ ทฤษฏีสัมพันธภาพนะครับ อย่าสับสนกันหละเดี่ยวป๋าไอจะโกรธ







ฝากบทความที่น่าสนใจ ลิงค์ข้างล่างนี้
-ปัญหาก่อนเปียกฝน
-ความขัดแย้งบนความลงรอย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม