ขณะที่ผมกำลังเล่น สบายๆ อยู่ดีๆ ทันใดนั้นหูผมก็ไปได้ยิน ข่าวแปลกเข้า เนื้อหาข่าวเขามีอยู่ว่า “ธนาคารโลกปรับฐานะประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นระดับสูง” เมื่อได้ยินข่าวก็ตกใจสิครับ คิดว่าหลายคนอาจจะได้ยินมาเหมือนกับผมเข้าเหมือนกัน แล้วเราก็กลับมาคิดๆดู ความหมายของมันให้ดีดี ประเทศไทย=ประเทศเรา, รายได้ระดับสูง=รวย ..... ฮะ!! ประเทศเรารวยแล้วหรอนี้ คิดเสร็จก็หันไปดูรอบข้าง....อ่า... ไม่มั้ง จากนั้นผมก็ลองเขาไปดูใน อินเตอร์เน็ตซะหน่อย และก็เป็นไปตามความคาดหมาย
เนื้อหาข่าวจริงๆ แล้วก็คือ “ธนาคารโลกปรับฐานะไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง” เล่นเอาเราตกใจแทบแย่(นึกว่าตัวเองอยู่ในเขตห่างไกล ความเจริญมากขนาดนั้น) บางครั้งข่าวในทีวี มันก็ถูกจำกัดด้วยเรื่องของเวลานะครับ คนรายงานข่าวมันก็ต้องรายงานกันเร็วไปบ้างเป็นธรรมดา
ข่าวนี้เขาบอกต่อว่า ในแต่ละปี ธนาคารโลกจะทำการทบทวน และอันดับประเทศต่างๆ ในโลกด้วยการประเมิน รายได้ต่อหัวของประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) ด้วยวิธีการใช้ Altlas Method แล้วผลของประเทศไทย จากวันที่ 1 กรกฏาคม 2554 อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถือว่ามีรายได้ปานกลางระดับสูง คือ ประเทศที่ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 3,976-12,275 เหรียญสหรัฐ (118,662-366,337 บาท) โดยประเทศไทยอยู่ที่ 4210 เหรียญสหรัฐ(125,756 บาท) อยู่เหนือของล่างมาหน่อยนึง
แล้วผมก็ต่อไปกันที่ ธนาคารโลก เพื่อจะทำให้ชัดเจนขึ้นว่าอะไร คือสิ่งที่เรียกว่า Atlas Method หรือเครื่องตัดสินตัวนี้กันแน่
และผมก็เจอสิ่งที่ตามหาอย่างรวดเร็วครับ
เป็นสมการหนึ่งที่ยาวจนน่ากลัวเลยทีเดี่ยว แต่มันยังไม่จบเมื่อมันยังต้องเอามาคิดต่อกับสมการ
เราจะได้ Yt$ รายได้ต่อหัว หรือ GNI per Capita ในหน่อย U.S. Dollars ต่อ ปี
โดยที่ et* เรียกว่า Atlas Conversion Factor
et คือ ค่าเฉลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนเงินประจำปี
pt คือ ดัชนี GDP ในปี t
ps$t คือ ดัชนี SDR ในปี t
Yt คือ รายได้รวมของประชาชาติ (GNI)
Nt คือ จำนวนประชากร ตอนกลางปี
สรุปกันคราวๆว่ามันก็เป็นสัตส่วนของสัตส่วนของสัตส่วนอีกที ซับซ้อนได้ที่เลยทีเดี่ยวครับ ถ้าสังเกตดีจะเห็นว่า เวลาช่วงเวลาที่มีผลต่อค่าคือเริ่งตั้งแต่สามปีทีแล้วก็กลับไปคิดๆดูละกันครับ ว่าเป็นผลจากอะไร ต่อไปก็ได้แต่หวังว่ามันขึ้นมาแบบนี้แล้ว จะไม่ต้องลดลงไปเร็วนักละกัน เดี่ยวจะกลับเสียใจอีกที
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น