RSS

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการมั่ว การเดาข้อ สอบ Gat-Pat, O-net และอื่นๆ

     เขาว่าโลกสมัยนี้ต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ การสอบเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของใครหลายคนขึ้นมาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Gat-Pat หรือ O-net ฝันร้ายของใครหลายๆ คน(ตอนเห็นคะแนนอะนะ) เนื่องจากมันทำตัวเป็นเหมือนเครื่องชี้ชะตาชีวิตเรา ชีวิต ม. ปลายเราเลยต้องพยายามทุมเทให้มัน ทั้งอ่านหนังสือ, ดูข้อสอบ, ติว, เรียน, บนบาน และ นอนหลับ (หึม...!) แต่พอไปจนถึงห้องสอบก็จะเริ่มมีความรู้สึกว่า มันไม่ค่อยเพียงพอเท่าไร ยังมีอีกหลายข้อที่เราไม่สามารถทำได้ สุดท้ายก็ต้องไปจบด้วยการใช้ดวง และความหน้าตาดีของแต่ละคน ในการเดา และมั่วข้อสอบกันไป
     เป็นที่รู้กันว่าข้อสอบข้อประเทศเรา สทศ ออกข้อสอบใหม่กันทุกปี (เพราะความพยายามล่าข้อสอบเก่าของใครบางคน) ข้อสอบจึงพยายามออกมาให้ดี ทันสมัย ครอบคลุมเนื้อหากว่าเดิมทุกปี (แต่ก็ยังโดนด่ากันทุกปี)  สิ่งหนึ่งที่คนออกข้อสอบพยายามก็คือ การแยกแยะคนที่รู้จริง กับรู้งูๆปลาๆออกจากกันให้ได้ ข้อสอบที่ออกมาจึงแปลก แหกแนว(พิมพ์ไม่ผิดนะ) กว่าข้อสอบที่เห็นตามโรงเรียนทั่วไปนัก (ถึงแม้ว่าจะมี 4 ตัวเลือกเหมือนกันก็เถอะ) ผมเลยเอากระดาษคำตอบจากปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ให้ดูชมกันถึงวิธีการเดา และการมั่ว อย่างเหนือเมฆ
เทคนิคที่ว่าก็คือ ปล่อยตามแนวแรงโน้มถ่วง(g) หรือทิ้งดิ่งนั่นเอง
     เวลามั่วข้อสอบ หลายๆคนไม่ค่อยชอบกับความเสี่ยงนักในการเดาคำตอบ เช่นถ้าเราเดาว่า ข้อ 1 มันดันออก 4 เดาว่า 4 ออก 2 ทางออกก็คือ การเปลี่ยนทุกข้อที่จะเดาเป็นข้อเดียวกันให้หมด เช่น ตอบ 1 เหมือนกันหมดทุกข้อ
        เนื่องจาก สทศ ไม่ค่อยชอบที่จะให้เด็กใช้วิธีนี้นัก ก็เลยต้องทำการปรับสมดุลข้อสอบให้มีจำนวนข้อที่ออกมา เท่าๆกัน ในการกา แต่ละ ตัวเลือก จริงหรอ.. เราต้องมาดูกัน

     ผมทำการเอาเฉลยข้อสอบมาลองแจงดู ว่าตอบข้อ 1 กี่ครั้ง ตอบข้อ 2 กี่ครั้ง ... และถ้าหากตอบได้ทุกข้อ ก็จะไม่นับข้อนั้นไป

     แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าข้อมูลตรงนี้ผมเก็บมาจากเฉลยของข้อสอบบางครั้งเท่านั้น ไม่ใช่ทุกครั้งเพราะหนูหาเฉลยข้อสอบได้ไม่ครบทุกครั้งจริงๆ
     ผลที่ได้ก็คือ...

การสอบ Gat 2 (ภาษาอังกฤษ)

การสอบ Pat 1 (คณิต)


สังเกตเห็นอะไรมั๊ยละครับ
     สำหรับ Gat 2 หรือ Pat 1 แล้วความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวเลือกนั้นไม่มากนัก อยากมั่วอะไรก็มั่วไป อย่างไงก็ได้ประมาณ หนึ่งในสี่เหมือนกันหมด
การสอบ Pat 2 (วิทยาศาสตร์)
      แต่สำหรับ Pat 2 แล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย ตัวเลือกที่สี่น้อยผิดไปจากที่ควรจะเป็น เพราะอะไร
นั้นคงเพราะหลายคนมีที่พึ่งทางใจเรื่องของการตอบ ถูกทุกข้อ ในข้อ ง. จากการสอบสมัยแบเบาะ เวลาไร้ที่พึ่งเราก็เลย เลือกดิ่งงงง ง. กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง สทศ รู้เรื่องนี้ดีครับ ก็เลยดักทางเอาไว้
ก็ให้จำไว้เลยว่าการดิ่งงงงข้อ ง. คือหายนะ

      ข้อมูลตรงนี้ช่วยเราได้เช่นกันครับ ตัวคือ ถ้าคุณสอบ Pat 2 แล้วงงไม่รู้ระหว่าง ข้อ 2 กับ 4 ก็ขอให้เดา ข้อ 2 ครับ เพราะโอกาสถูกมันมีมากกว่าตั้ง 8%


ยังมีเทคนิคเด็ดๆกว่านี้อีกมากครับ
แต่วันนี้เอาไว้เท่านี้ก่อนเดี่ยววันหลังมาเพิ่มให้อีกนะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม